วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 17

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน  2556
        อาจารย์สรุปองค์ความรู้ในการสอนวิทยาศาสตร์  การจัดมุมประสบการณ์และให้นักศึกษาทุกคนส่งงานและจัดทำบล็อกให้เรียบร้อย



เพิ่มเติม


ประโยชน์จากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
พัฒนาการทางปัญญาเป็นความสามารถทางสมองในการรวบรวมประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเหตุผล ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถแก้ปัญหาได้ และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางปัญญา การพัฒนาทางสติปัญญา ไม่ใช่การเพิ่มระดับไอคิว แต่การพัฒนาทางสติปัญญาเน้นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาใน 2 ประการ คือ

1. ศักยภาพทางปัญญา คือ การสังเกต การคิด การแก้ปัญหา การปรับตัว และการใช้ภาษา
2. พุทธิปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่ใช้เป็นพื้นฐานของการขยายความรู้ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินเพื่อการพัฒนาการรู้การเข้าใจที่สูงขึ้น

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 17

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน  2556

           อาจารย์ให้กลุ่มต้มจืดมาสาธิตการสอน  ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา



วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 16

วันจันทร์ที่ 16  กันยายน  2556
          อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนการจัดประสบการณ์ การทำอาหาร พร้อมทั้งออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน  ดังนี้  1.ราดหน้า   2.แกงจืด   3.ไข่เจียวทรงเครื่อง  4.ไข่พะโล้    5.ข้าวผัดแสนอร่อย  6.ผัดผัก
กลุ่มดิฉันนำเสนอไข่เจียวทรงเครื่อง


วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 15 (ชดเชย)

วันอาทิตย์ที่  15  กันยายน  2556

         อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาส่งงานให้เรียบร้อย  โดยมีทั้งสื่อมุมและสื่อของเล่น  จากการที่ได้เห็นเพื่อนนำเสนองานทำให้ได้รับประโยชน์ เพื่อนำไปปรับใช้สร้างผลงานให้กับตนเองได้ในอนาคต

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่14

วันจันทร์ ที่9 กันยายน 2556



ไม่มีการจัดการเรียนการสอน

                  
                      เนื่องจาก อาจารย์ติดงานสัมนนาของคณะศึกษาศาสตร์ และอาจารย์ได้แจ้งล่วงหน้าแก่นักศึกษาแล้วว่า จะขอสอนชดเชย ในวันอาทิตย์ที่15 กันยายน เวลา08.30เป็นต้นไป

ครั้งที่13

วันจันทร์ ที่2 กันยายน 2556


           วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์ ซึ่ง อาจารย์ได้บอกเกณฑ์การตรวจชิ้นงานดังต่อไปนี้


-งานเรียบร้อย ประณีต
-สะท้อนวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
-เข้าใจได้ง่าย

                               
                                         กลุ่มของข้าพเจ้า ทำสื่อเข้ามุมคือ การทำสมุดวงจรของสัตว์ ซึ่งให้เด็กได้เรียนรู้การเจริญเติบโตของสัตว์ ที่เด็กๆรู้จักและอยู่ใกล้ๆตัวของเด็ก เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์คือเป็นธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่เด็กต้องศึกษาเรียนรู้







ครั้งที่12

วันจันทร์ ที่26 สิงหาคม 2556



                   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก อาจารย์ติดประชุมของคณะศึกษาศาสตร์